"3 บุคคลผู้ใดรู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา
4 บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับการทรงปลอบประโลม
5 บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก
6 บุคคลผู้ใดหิวกระหาย ความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์
7 บุคคลผู้ใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับพระกรุณาตอบ
8 บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า
9 บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร
10 บุคคลผู้ใดต้องถูกข่มเหงเพราะเหตุความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา
11 เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหง และนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายเป็นความเท็จเพราะเรา ท่านก็เป็นสุข
12 จงชื่นชมยินดี เพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้ข่มเหงผู้เผยพระวจนะทั้งหลาย ที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน" (มัทธิว 5:3-12)
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ผู้ที่รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ
"บุคคลผู้ใดรู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา" (มัทธิว 5:3)
คนที่ผู้ในแผ่นดินสวรรค์ จะเป็นสุข เมื่อรู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนบาป ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งที่จะแก้ไข เปลี่ยนจากความบกพร่อง ไปสู่ความสมบูรณ์
โรม 3:23 ตั้งแต่สมัยอาดัม จิตวิญญาณของเราบกพร่องตั้งแต่เริ่มแรก
"เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า" (โรม 3:23)
กษัตริย์ดาวิด ได้กล่าวไว้ใน สดุดี 32 ซึ่งจะอธิบายห้เราเห็นภาพ และเข้าใจยิ่งขึ้น
"1 บุคคลผู้ซึ่งได้รับอภัยการละเมิดแล้วก็เป็นสุข คือผู้ทรงกลบเกลื่อนบาปให้นั้น
2 บุคคลซึ่งพระเจ้ามิได้ทรงถือโทษก็เป็นสุข คือผู้ที่ไม่มีการหลอกลวงในใจของเขา
3 เมื่อข้าพระองค์ไม่แจ้งบาปของข้าพระองค์ ร่างกายของข้าพระองค์ก็ร่วงโรยไป โดยการคร่ำครวญวันยังค่ำของข้าพระองค์
4 พระหัตถ์ของพระองค์หนักอยู่บนข้าพระองค์ทั้งวันทั้งคืน กำลังของข้าพระองค์ก็เหี่ยวแห้งไปอย่างความร้อนใน หน้าแล้ง
5 ข้าพระองค์สารภาพบาปของข้าพระองค์ต่อพระองค์ และข้าพระองค์มิได้ซ่อนบาปผิดของข้าพระองค์ไว้ ข้าพระองค์ทูลว่า “ข้าพระองค์จะสารภาพการละเมิดของ ข้าพระองค์ต่อพระเจ้า” แล้วพระองค์ทรงยกโทษบาปของข้าพระองค์" (สดุดี 32:1-5)
เมื่อเราได้รู้จักพระเจ้า เราก็รู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงยอมสิ้นพระชนม์บนกางเขน ซึ่งนำไปสู่การอภัยการละเมิด ความผิดบาปของเรา ทำให้เราพ้นจากพระอาชญา
ทั้งอาจารย์เปโตร และอาจารย์เปาโล ได้กล่าวว่า "ให้เราซาบซึ้งในความรักของพระเจ้า" เพราะถ้าหากเราไม่ได้รับการอภัย เราก็จะพินาศ ดังนั้น เมื่อเรารู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ก็จะนำเราสู่การสารภาพ เราก็จะได้รับการอภัย พ้นจากพระอาชญา ความสุขก็จะเป็นของเรา
เราจึงต้องปรับความเข้าใจของเราใหม่ ว่าการที่เราได้รับการอภัยโทษบาป จะทำให้เราเกิดสันติสุข และถ้าเราสารภาพบาปของเรา ได้รับการอภัยแล้ว แต่ไม่รู้สึกซาบซึ้งเท่าที่ควร ก็หมายถึงว่าเราไม่มีความเข้าใจ ไม่รู้ว่าชาวแผ่นดินสวรรค์นั้นเกรงกลัวพระอาชญาขนาดไหน และการได้รับอภัย ไม่ต้องพินาศ ทำให้เกิดสันติสุขมากเพียงใด
จึงอยากให้พวกเราได้เรียนรู้ ทุกครั้งที่เราได้สารภาพ ให้เรานึกเสมอว่า "บุคคลผู้ซึ่งได้รับอภัยการละเมิดแล้วก็เป็นสุข คือผู้ทรงกลบเกลื่อนบาปให้นั้น" เมื่อเราสารภาพแล้ว เราควรจะมีความสุข
ถ้าไม่รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ --> ไม่มีการกลับใจ --> นำไปสู่ความพินาศในที่สุด
"ถ้าใจของเรากล่าวโทษตัวเราเมื่อไร เราก็จะรู้ว่า เราอยู่ฝ่ายสัจจะและใจเราจะหมดกังวลจำเพาะพระองค์" (1ยอห์น 3:19)
การกล่าวโทษในที่นี้ คือการที่พระเจ้าทรงเตือนเรา ผ่านทาง "มโนธรรม" ในจิตใจของเรา
เมื่อมโนธรรมเราฟ้องว่า เราทำผิด จึงเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่อย่าดื้อ ต้องรีบสารภาพบาปของเรา อย่าฝืน "จิตสำนึกผิดชอบ" หรือ "มโนธรรม"
เมื่อเราติดสนิทกับพระเจ้า เติบโตยิ่งขึ้น "จิตสำนึกผิดชอบ" จะไวมากขึ้นเพราะพระเจ้าทรงเป็นใหญ่กว่าใจของเรา และพระองค์ทรงทราบทุกสิ่ง
"21 ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าใจของเราไม่ได้กล่าวโทษเรา เราก็มีความมั่นใจที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้า
22 และเราขอสิ่งใดๆ เราก็ได้สิ่งนั้นๆจากพระองค์ เพราะเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และปฏิบัติตามชอบพระทัยพระองค์" (1ยอห์น 3:21-22)
ถ้าใจเราไม่ได้กล่าวโทษเรา แสดงว่าเรามีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งนำไปสู่พระสัญญาที่ว่า ถ้าเราขอสิ่งใด เราก็จะได้รับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นพระพรฝ่ายวิญญาณ แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เรารู้สึกบกพร่อง --> สารภาพ --> ปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ ประพฤติชอบตามพระทัยของพระองค์